सामग्री में जाएं
2 मिनट लाल Semantic Segmentation

एआई भूकंप गेम को बदल देता है: दुनिया भर से केस स्टडीज

एआई भूकंप गेम को बदल देता है: वास्तविक केस स्टडीज और अत्याधुनिक तकनीक का संयोजन उपग्रह इमेजरी के माध्यम से क्षति मूल्यांकन से लेकर प्रारंभिक चेतावनी प्रणालियों तक जो जीवन रक्षक समय को तुरंत खरीदते हैं।

 

แผ่นดินไหว เป็นภัยธรรมชาติที่เราแทบจะคาดเดาอะไรไม่ได้เลย แต่กลับสร้างความเสียหายรุนแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้ในพริบตา

แต่รู้ไหมครับว่า ในยุคที่ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) ฉลาดขึ้นทุกวัน เทคโนโลยีนี้กำลังเข้ามาเปลี่ยนวิธีที่เรารับมือกับแผ่นดินไหวไปอย่างสิ้นเชิง จากที่เคยทำได้แค่รอให้เกิดเหตุแล้วค่อยแก้ไข ตอนนี้ AI กำลังช่วยให้เรา 'ตั้งรับเชิงรุก' ได้อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน

ผมก็เป็นหนึ่งในผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว วิ่งหนีตายออกจากตึกสูงเช่นเดียวกับอีกหลายคน ในบ่ายวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 และด้วยความอยากรู้ อยากเห็น ในฐานะที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง AI เลยลองค้นคว้าเพิ่มเติมดูว่า AI มันมีประโยชน์และช่วยอะไรเกี่ยวกับภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหวได้บ้าง

บทความนี้จะพาไปดูเคสจริงจากทั่วโลกว่า AI ไม่ใช่แค่ตัวช่วยเสริม แต่กำลังกลายเป็น 'หัวใจ' สำคัญในการปกป้องเราจากภัยพิบัติครั้งใหญ่นี้ได้อย่างไร


1. ดวงตาดิจิทัล: AI ส่องความเสียหายหลังแผ่นดินไหว

ลองนึกภาพตามนะครับ แผ่นดินไหวใหญ่เพิ่งสงบลง สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ 'เสียหายแค่ไหน' เพื่อจะได้รีบส่งความช่วยเหลือไปให้ถูกจุด นี่แหละครับคือสิ่งที่ AI เก่ง

ระบบประเมินความเสียหายยุคใหม่ใช้สิ่งที่เรียกว่า โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน (Convolutional Neural Network - CNN) ซึ่งมีความสามารถสูงในการวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis)

ทำงานคล้ายๆ 'ดวงตาดิจิทัล' อัจฉริยะ มันสแกนภาพถ่ายดาวเทียมหรือภาพทางอากาศ แล้วชี้เป้าความเสียหายของตึก ถนน หรือแม้แต่ร่องรอยดินถล่มได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมาก

Islahiye, Turkey - รูปถ่ายจากดาวเทียมโดยบริษัท Maxar Technologies  (ซ้าย) และรูปจาก xView2โดย UC Berkeley/Defense Innovation Unit/Microsoft (ขวา)

(ที่มา : MIT Technology Review)

AI จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ระบบประเมินความเสียหายหลังเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ (Damage Assessment Systems) ทำงานได้ฉลาดมากขึ้น


2. เสียงเตือนจาก AI: ผู้พิทักษ์ก่อนภัยมาถึง

ถ้าการประเมินความเสียหายคือการ 'ตั้งรับ' ระบบเตือนภัยล่วงหน้า หรือ Early Warning Systems ก็เปรียบเหมือน 'ผู้พิทักษ์ชีวิต' ด่านหน้าเลยครับ

AI ในระบบนี้ทำหน้าที่เหมือนหูทิพย์ คอย 'ฟัง' สัญญาณแรกสุดของแผ่นดินไหว (คือ คลื่นปฐมภูมิ หรือ P-wave) ซึ่งเดินทางเร็วกว่า คลื่นทุติยภูมิ (S-wave) และ คลื่นพื้นผิว (Surface Waves) ที่เป็นตัวการสร้างความเสียหายรุนแรง พอจับสัญญาณได้ปุ๊บ ระบบ AI จะรีบคำนวณตำแหน่งศูนย์กลาง (Epicenter), ขนาด (Magnitude) และพื้นที่เสี่ยง แล้วส่งเสียงเตือนทันที


3. ถอดรหัสแผ่นดินไหว: เมื่อ AI อ่านใจโลก

ข้อมูลคลื่นไหวสะเทือน (Seismic Data) มันซับซ้อนครับ การวิเคราะห์แบบเดิมๆ อาจมองข้ามสัญญาณสำคัญไป

แต่ AI โดยเฉพาะเทคนิค Machine Learning (ML) ที่เก่งเรื่องการหา 'รูปแบบ' (Patterns) ที่ซ่อนอยู่ กำลังเข้ามาช่วย 'ถอดรหัส' ข้อมูลพวกนี้ได้ลึกซึ้งขึ้น

มันช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มองเห็นสัญญาณบอกเหตุล่วงหน้า (Precursor Signals) ที่อาจซ่อนอยู่ ทำนายรูปแบบการเกิด หรือแม้แต่ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นอย่าง เรดาร์ช่องรับแสงสังเคราะห์ (Synthetic Aperture Radar - SAR) หรือโดรนติดเซ็นเซอร์เพื่อสร้างแผนที่แผ่นดินไหวที่ละเอียดกว่าเดิม

เรื่องน่าสนใจก็มีครับ


4. AI ในสนามจริง: เมื่อภัยพิบัติมาเยือน

ทีนี้มาดูตอนเกิดเหตุการณ์จริงกันบ้าง ว่า AI ถูกนำมาใช้ในเหตุการณ์จริงอย่างไร?


อนาคตที่ AI จะเข้ามาช่วยได้มากกว่านี้

มองไปข้างหน้า ศักยภาพของ AI ในการรับมือแผ่นดินไหวยังไปได้อีกไกลครับ
ลองคิดดูว่าถ้าเราผสมผสาน AI เข้ากับเซ็นเซอร์จิ๋วๆ หรืออุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ที่กระจายอยู่ทั่วเมือง เราจะได้ข้อมูลที่ละเอียดแบบเรียลไทม์ขนาดไหน

หรือถ้ามี Quantum Computing ที่คำนวณได้เร็วสุดๆ มาช่วยสร้างแบบจำลอง รวมถึงการพัฒนา การประมวลผลแบบเรียลไทม์ (Real-time Processing) ให้เร็วยิ่งขึ้น มันอาจจะทำนายแผ่นดินไหวได้แม่นยำขึ้นอย่างก้าวกระโดดเลยก็เป็นได้

แต่เรื่องก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้น...


ข้อจำกัดและความท้าทายของ AI

แม้ AI จะดูมีแววรุ่ง แต่การนำมาใช้จริงกับแผ่นดินไหวก็ยังมีเรื่องท้าทายอยู่ไม่น้อยครับ ทั้งเรื่องทางเทคนิค ความพร้อมของพื้นที่ และเรื่องของคน

1. ความแม่นยำและข้อมูลที่อาจลำเอียง (Data Bias)

2. เทียบเทคโนโลยี:

มองภาพรวม vs เจาะลึกรายละเอียด เวลาใช้ AI ประเมินความเสียหายจากภาพถ่าย ก็มีเทคนิคหลักๆ อยู่ 2 แบบ:

3. ความท้าทายในการใช้งานจริง:


บทสรุป: AI จาก 'ผู้ตั้งรับ' สู่ 'เพื่อนร่วมทาง' สู้ภัยแผ่นดินไหว

จะเห็นว่า AI ไม่ใช่แค่เครื่องมือไฮเทคอีกต่อไปแล้ว แต่กำลังกลายเป็น 'เพื่อนร่วมทาง' คนสำคัญที่ช่วยให้เรารับมือกับแผ่นดินไหวได้ดีขึ้นจริงๆ

ตั้งแต่การประเมินความเสียหายที่รวดเร็วเหมือนติดปีก การเตือนภัยที่ช่วยซื้อเวลาอันมีค่า ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลที่ลึกซึ้งขึ้น

แต่แน่นอนว่าทุกอย่างยังมีช่องว่างให้พัฒนา ทั้งเรื่องเทคนิค ความพร้อมของพื้นที่ และการพัฒนาคน

แล้วเราจะเดินหน้าต่ออย่างไร?

การจะทำให้ AI เป็นพลังช่วยปกป้องเราจากแผ่นดินไหวได้อย่างเต็มศักยภาพ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนครับ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องจริงจังกับการลงทุนวิจัยและพัฒนา ทำให้เทคโนโลยีแม่นยำขึ้น ลดความลำเอียง และใช้งานได้จริงแม้ในพื้นที่ขาดแคลน

การแบ่งปันความรู้และเทคโนโลยีระหว่างประเทศก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะนี่คือปัญหาระดับโลก ขณะเดียวกัน การให้ความรู้กับประชาชนให้เข้าใจและใช้ประโยชน์จากระบบเตือนภัยต่างๆ รวมถึงการพัฒนาคนให้พร้อมใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้เราทุกคนก้าวไปสู่อนาคตที่ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวได้มากยิ่งขึ้น ด้วยพลังของ AI ครับ


แหล่งอ้างอิง

1. ShakeAlert System

 

2. xView2 Project

 

3. Stanford AI Models

 

4. แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย ปี 2023

 

5. แผ่นดินไหวฮอกไกโด ปี 2018

 

7. Los Alamos National Laboratory

 

8. Hiroshima University

 

9. Carnegie Mellon University